สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 มิถุนายน 2562

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,794 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,789 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.03
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,787 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,809 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,126 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,859 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,445 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 586 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,003 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,943 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 411 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,724 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,694 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 423 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,096 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,036 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 60 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9587

2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เมียนมาร์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (the Deputy Commerce Minister) ระบุว่า รัฐบาลจีนตกลงที่จะ
นำเข้าข้าวจากเมียนมาร์เพิ่มเป็น 100,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (a memorandum of understanding; MoU) ระหว่างรัฐบาลของสองประเทศสำหรับการค้าแบบต่างตอบแทน ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เมียนมาร์มีโรงสีข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและสามารถส่งข้าวไปยังประเทศจีนได้ จำนวน 11 แห่ง ขณะที่สหพันธ์ข้าวเมียนมาร์ (the Myanmar Rice Federation; MRF) ระบุว่า ผู้ส่งออกข้าวจะต้องเร่งส่งออกข้าวให้ครบ
จำนวน 100,000 ตัน โดยเร็วสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และคาดหวังว่ารัฐบาลจีนจะพิจารณาเพิ่มโควตานำเข้าข้าวจาก
เมียนมาร์เป็น 400,000-500,000 ตัน โดยที่สหพันธ์ฯ คาดว่าจะมีการเร่งทำสัญญาขายข้าวให้แก่จีนภายในเดือน มิถุนายน และส่งมอบตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายนนี้
มีรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์เมียนมาร์ (the Ministry of Commerce) จะอนุญาตให้บริษัทต่างชาติและ บริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ (foreign and joint venture) สามารถส่งออกข้าวและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ ได้ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะอนุญาตให้มีการส่งออกสินค้า 7 ประเภท ได้แก่ 1) สินค้าเนื้อสัตว์และสินค้าประมง (Meat and Fishery)
2) สินค้าพืชผลที่มีการแปรรูปหรือเพิ่มมูลค่าแล้ว (Value added crops) เช่น เมล็ดข้าว ผงถั่วบด ผงงาบด แป้งข้าวโพด 3) กระดาษและเยื่อกระดาษ (Paper and pulp) 4) เมล็ดพันธุ์พืช (Seed) 5) สินแร่ (Refined Mineral) 6) สินค้าผลไม้แปรรูป ทั้งสำเร็จและกึ่งสำเร็จ (Finished products/ semi-finished products manufacturing from fruits) และ
7) สินค้าจากไม้/เฟอร์นิเจอร์ (Wood and furniture products)
ภายใต้กฎหมาย the Notification 24/2019 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายนที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์จะออกใบอนุญาตส่งออกให้แก่บริษัทต่างชาติ (export licenses to foreign companies) ซึ่งบริษัทเหล่านั้น จะสามารถซื้อข้าวและสินค้าโภคภัณฑ์จากกลุ่มผู้ผลิตในเมียนมาร์และส่งออกได้ โดยการออกมาตรการนี้เป็นการเพิ่มคุณภาพการส่งออกของเมียนมาร์และส่งเสริมความต้องการของต่างชาติในสินค้าเมียนมาร์
การอนุญาตดังกล่าว ทำให้บริษัทต่างชาติสามารถส่งออกสินค้าเกษตรที่มีการเพิ่มมูลค่าจากข้าว (value-added rice and broken rice) รวมทั้ง ถั่ว งา และข้าวโพด ซึ่งผู้ประกอบการค้าสินค้าข้าวท้องถิ่นบางรายมองว่า จะเป็นการเพิ่มการแข่งขันกับผู้ประกอบการเมียนมาร์ให้ตึงเครียดขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างชาติจะมีเงินทุนจำนวนมาก และมีเครือข่ายทางการตลาดที่กว้างขวางมากกว่าผู้ประกอบการท้องถิ่น แต่ในขณะเดียวกันก็จะช่วยให้มีผู้ซื้อในตลาดมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกรและผู้ผลิตสินค้า
โดยก่อนหน้านี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของเมียนมาร์ (the Myanmar Investment Commission) ออกใบอนุญาตให้บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ คือ Wilmar International จัดตั้งบริษัทร่วมทุน Wilmar Myanmar Riceland Ltd. ตั้งอยู่ที่บริเวณท่าเรือติลาวา (the Thilawa port) ในย่างกุ้ง เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น ข้าวสาร แป้งจากข้าว (rice flour) รำข้าว (rice bran) น้ำมันรำข้าว (rice bran oil) และแกลบข้าว (rice husks) เป็นต้น
ทั้งนี้ ช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 - พฤษภาคม 2562 เมียนมาร์ส่งออกข้าวแล้วประมาณ 1.5 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 470 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งส่งออกไปยังประเทศจีนทางแนวชายแดนประมาณ 1 ใน 3 และอีกประมาณ
ร้อยละ 45 ส่งไปยังตลาดในสหภาพยุโรปและแอฟริกา
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
บังคลาเทศ
รัฐบาลตัดสินใจที่จะออกมาตรการรับซื้อข้าวเปลือกเพิ่มเติมจากเกษตรกรอีกประมาณ 250,000 ตัน ในช่วงฤดูการผลิต Boro (มกราคม-พฤษภาคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในประเทศ ที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง เพราะผลผลิตข้าวในปีนี้มีจำนวนมากเกินความต้องการ ส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศลดลงเป็นประวัติการณ์
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการรับซื้อข้าวสารและข้าวเปลือกรวมประมาณ 1.25 ล้านตัน (เป็นข้าวเปลือกประมาณ 150,000 ตัน) ในฤดูการผลิตปัจจุบัน โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา และสิ้นสุดในวันที่
31 สิงหาคมนี้ โดยรัฐบาลได้กำหนดราคาสำหรับข้าวเปลือกไว้ที่ 26 ทากาต่อกิโลกรัมหรือ ประมาณ 305 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ข้าวนึ่งกำหนดไว้ที่ 36 ทากาต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 423 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวนึ่ง
กำหนดไว้ที่ 38 ทากาต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 446 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เริ่มโครงการมาจนถึงขณะนี้ รัฐบาลรับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรแล้วประมาณ 30,000 ตัน และยังคงต้องรับซื้ออีกประมาณ 120,000 ตัน เพื่อให้ครบตามเป้าเดิมที่ 150,000 ตัน ส่วนการรับซื้อข้าวสารจากโรงสีข้าวนั้น มีจำนวนประมาณ 382,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 35 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.1 ล้านตัน
เมื่อเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลได้ปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าว (import duty on rice) เป็นร้อยละ 55 จากอัตราเดิม
ที่ร้อยละ 28 เพื่อจำกัดการนำเข้า และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศ เนื่องจากในปีนี้ผลผลิตข้าวมีจำนวนมากเกินความต้องการ ข้อมูลของทางการรายงานว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 - เมษายน 2562 ผู้ค้าข้าวเอกชน
มีการนำเข้าข้าวประมาณ 330,000 ตัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากอินเดีย ในขณะที่รัฐบาลได้มีการจัดหาข้าวจากเกษตรกรมาเก็บสต็อกไว้เพื่อดึงอุปทานข้าวออกจากตลาดด้วย โดยมีการสร้างไซโลเก็บข้าวไว้ทั่วประเทศประมาณ 200 แห่ง
          กรมส่งเสริมการเกษตร (The Department of Agriculture Extension; DAE) พยากรณ์ว่า ผลผลิตข้าวในฤดูการผลิต Boro ปี 2562 นี้ จะมีประมาณ 19.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากจำนวน 19.7 ล้านตัน ในปี 2561 ขณะที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดว่า ในปีการผลิต 2561/62 บังคลาเทศจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 34.9 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 7 เนื่องจากมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าว ประกอบกับผลผลิตต่อไร่มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.83 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.42 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.90 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.59
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.02 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.46 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.43  บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.36
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 302.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,362 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 303.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,411 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 49 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 449.64 เซนต์ (5,557 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 426.16 เซนต์ (5,280 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.51 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 277 บาท


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.37 ล้านตัน (ร้อยละ 1.18 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ทำให้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.64 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.79 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.84
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.36 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.94
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.05 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.17 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.91
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 225 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,966 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 223 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,921 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.90  
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,715 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,905 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.12

 


ปาล์มน้ำมัน

 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

 

 
ยางพารา

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 56.44 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 50.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.66 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.56 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.66 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 49.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.66 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.34
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.19 บาท เพิ่มขึ้นจาก 23.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.90
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.05 บาท เพิ่มขึ้นจาก 20.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.23 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.10
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.68 บาท เพิ่มขึ้นจาก 47.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.49 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกรกฎาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.79 บาท เพิ่มขึ้นจาก 64.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 63.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.51 บาท ลดลงจาก 51.64 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.13 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.25
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.24 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.54 บาท เพิ่มขึ้นจาก 63.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.94
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.39 บาท เพิ่มขึ้นจาก 62.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.60 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.96
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.26 บาท ลดลงจาก 51.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.13 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.25
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.99 บาท เพิ่มขึ้นจาก 40.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.50 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.23
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.26 เซนต์สหรัฐฯ (62.00 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 197.12 เซนต์สหรัฐฯ (61.18 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 3.14 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.59
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 231.82 เยน (65.71 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 225.52 เยน (63.96 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 6.30 เยน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.79


 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.43 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 20.24 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.00
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 967.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 903.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 900.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 967.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.21 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 578.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 576.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 993.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 991.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20 แต่ลดลงรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.51 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.64 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 3.62
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
          1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 65.10 (กิโลกรัมละ 45.05 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 66.13 (กิโลกรัมละ 45.88 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.83 บาท
 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,666 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,659 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,331 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,334 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.22
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 836 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงและสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  71.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.12 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 73.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อในท้องตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 37.05 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.90บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.41 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.93 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.86 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  36.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโดยคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) ได้ดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ ด้วยการปรับสมดุลการผลิตให้เหมาะสมกับความต้องการบริโภคในประเทศ ลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไข่ไก่ของไทยจากปัญหาไข่ไก่ล้นตลาด เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่สามารถขายไข่ไก่ได้ในราคาที่น่าพึงพอใจ และไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค โดยได้ปรับสมดุลปริมาณไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ด้วยการขอความร่วมมือภาคเอกชนผู้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ ปรับลดกำลังการผลิต บางส่วนนำผลผลิตไข่ไก่ส่วนเกินออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ อีกทั้งปรับลดแม่ไก่ไข่ยืนกรงทั้งอุตสาหกรรม ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย   
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 280 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 274 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 276 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 256บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  331 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 323 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.48 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 335 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 310 บาท และภาคใต้ ร้อยละ 398 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.18 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 88.18 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.39 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.48 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 77.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.77 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.27 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.44 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 139.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.34 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.84 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา